การสักอณูสีที่หนังศีรษะ
การสักหัวด้วยอณูสี
ผู้ที่เหมาะกับการสักรูขุมขนได้แก่
- สุภาพสตรีที่ผมบาง ที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัดปลูกผม การสักรูขุมขนจะช่วยปกปิดหนังศีรษะได้ดี และได้ผลทันที สีจะอยู่ทนโดยเฉลี่ย 3-5 ปี
- ผู้ที่มีปัญหาผมบาง ทั้งชายและหญิง
- คนไข้ที่ปลูกผมไปแล้ว และต้องการให้ดูแน่นยิ่งขึ้น
- ผู้ที่มีปัญหาศีรษะล้านเป็นบริเวณกว้าง [Norwood class 6-7] กราฟท์ที่บริจาคมีจำกัด เมื่อปลูกไปแล้วสามารถมาสักรูขุมขนเพื่อให้ดูแน่นยิ่งขึ้น
- ผู้ที่มีปัญหาผมบางศีรษะล้านแต่ไม่ต้องการผ่าตัดปลูกผม และต้องการที่จะตัดผมสั้น ( shaven head]
- ผู้ที่ไม่สามารถปลูกผม เช่น โรค alopecia areata/ cicatricial alopeica, alopecia totalis ซึ่งเป็นข้อห้ามการศัลยกรรมปลูกผม
การสักหัวด้วยอณูสี
การสัก หรือ tattoo ก็คือการฝังสี pigment ลงไปในผิวหนัง การฝังจะมีความตื้นลึกไม่เท่ากันแล้วแต่วัตถุประสงค์
หลักการคือการใช้เม็ดสี ส่งผ่านวัตถุที่แหลมคม แทงลงในชั้นผิวหนัง ให้อณูสีนั้นฝังอยู่ แต่กลไกของร่างกายจะค่อยๆ กำจัดเม็ดสีนั้นออกไปเร็วบ้างช้างบ้าง หรือกำจัดออกได้บางส่วนแล้วแต่ชนิดของเม็ดสีและความลึกของชั้นผิวหนังที่เราสัก
การสักอณูสีทางการแพทย์มีมานานแล้ว โดยเริ่มต้นจากการสักสีเพื่อแก้ไขแผลเป็นต่างๆ หรือการสักสีเลียนแบบธรรมชาติ ต่อมาได้มีการนำเทคนิกและหลักการมาปรับใช้กับความงาม เช่น การสักสีปาก สักคิ้ว ฯลฯ
สำหรับหนังศีรษะ ก็มีการใช้อณูสีมาช่วยเพิ่มความเข้ม โดยการสักสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ทำให้หนังศีรษะดูเข้มขึ้น อย่างไรก็ตาม เทคนิกที่ใช้ก็จะแตกต่างกันแล้วแต่ทักษะของช่าง และจุดประสงค์ของการสัก บางคนสักเพื่อเป็นยันตร์กันภัย บางคนสักเพื่อให้หนังศีรษะสีเข้ม สำหรับ SMP หรือ scalp pigmentation จะมีจุดประสงค์หลักเพื่อเลียนแบบรูขุมขนตามธรรมชาติ การทำ SMP มีการเริ่มต้นมาจากประเทศทางตะวันตก เพราะผู้คนนิยมที่จะไว้ทรงผมแบบโกน [Shaven head] จึงมีการจุดสีสัก ให้เลียนแบบรูขุมขน เสมือนกับว่ามีผมเต็มแต่โกนออก
ต่อมาในวงการแพทย์ปลูกผมได้นำเทคนิกนี้มาใช้ ในการสักปิดแผลเป็นที่เกิดจากการย้ายรากผม และมีการพัฒนาด้วยการใช้สีที่ปลอดภัย ไม่ทิ้งสารพิษไว้กับร่างกาย และทำได้ไม่เจ็บ พักฟื้นเร็ว